@ ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

               ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกุมภวาปี  จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๖ พร้อมกันทั่วประเทศ จำนวน ๗๘๙ แห่ง ใช้ชื่อว่า   “ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอกุมภวาปี ” มีสถานะเป็นสถานศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุดรธานี    ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับห้องสมุดประชาชนอำเภอกุมภวาปี  มีเนื้อที่ประมาณ  ๑  ไร่ ๒ งาน อยู่บริเวณหน้าตลาดสดเทศบาลตำบลกุมภวาปี อาคารที่ทำการเป็นเอกเทศโดยต่อเติมจากอาคารอเนกประสงค์ที่ใช้พบกลุ่มนักศึกษานอกโรงเรียน เดิม  โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตร ๒๕  แห่งพระราชบัญญัติ  ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๓๑ ข้อ ๖ ประกาศ ณ วันที่  ๒๗  สิงหาคม  ๒๕๓๖  ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/กิ่งอำเภอ  โดยนายปราโมท สุขุม รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนาม   

                ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัด ได้ปรับบทบาทสังกัด เพื่อให้สอดรับกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ ชื่อใหม่เป็น “สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน” สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการจึงทำให้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภออำเภอกุมภวาปี เปลี่ยนสังกัดเป็น สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดอุดรธานี  สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ  ต่อมา พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้ประกาศใช้ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ หน้า ๑ เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๑ จึงทำให้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอกุมภวาปี เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกุมภวาปี” ชื่อย่อ “กศน.อำเภอกุมภวาปี” และได้ปรับบทบาทภารกิจหน้าที่ใหม่อีกครั้งหนึ่ง จนมาถึงปัจจุบัน

อาณาเขต

อำเภอกุมภวาปี  ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ทิศใต้ของจังหวัดอุดรธานี  ระยะห่างจากจังหวัด  ๔๓ กิโลเมตร  มีพื้นที่ประมาณ  ๖๐๐  ตารางกิโลเมตร  

        ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอหนองหาน  จังหวัด อุดรธานี

        ทิศใต้  ติดต่อกับอำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี และอำเภอกระนวน  จังหวัดขอนแก่น

        ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองหาน อำเภอศรีธาตุ และอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี                                      ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี